ความรู้เกี่ยวกับเมอร์ส

30 มิถุนายน 2558
 ประเภท : ข่าวประชาสัมพันธ์
ข้อมูลรูปที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีข้อมูล!!

ไวรัสเมอร์ส คืออะไรกันแน่ ?

     ไวรัสเมอร์ส (MERS) ย่อมาจาก Middle East Respiratory Syndrome มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โคโรน่าไวรัสสายพันธุ์กลุ่มอาการโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือบ้างก็ขนานนามโรคนี้ว่า เมอร์สคอฟ (MERS-CoV) เนื่องจากเป็นโรคจากการติดเชื้อในกลุ่มโคโรน่าไวรัส (Coronavirus: CoV) ซึ่งจัดเป็นไวรัสตระกูลใหญ่ที่เคยส่ง

     โรคไข้หวัดใหญ่และโรคซาร์ส­­­ (SARS) ­มาระบาดไปแล้วเมื่อหลายปีก่อนไวรัสเมอร์สเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2012 โดยพบผู้เสียชีวิตด้วยไวรัสตัวนี้ที่ประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นท­­­­ี่แรก ซึ่งคาดว่าพาหะมาจากอูฐ และความรุนแรงของไวรัสเมอร์สก็คร่าชีวิตผู้คนกว่า 100 ราย อีกทั้งยังกระจายการแพร่ระบาดไปยังประเทศจอร์แดน, กาตาร์, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, ตูนีเซีย, อียิปต์, อังกฤษ, สหรัฐอเมริกา และล่าสุด (มิถุนายน 2558) ก็พบเชื้อไวรัสตัวนี้ที่เกาหลีใต้และประเทศจีนแล้วด้วย

     อย่างที่บอกว่าไวรัสเมอร์สเป็นไวรัสสายพันธุ์กลุ่มอาการโรคทางเ­­­­ดินหายใจ การแพร่ระบาดของเชื้อชนิดนี้จึงอาศัยละอองเสมหะเมื่อเกิดอาการไ­­­­อหรือจามของมนุษย์เป็นแหล่งซ่อนตัวและเกาะไปตามเชื้อ เมื่อคนที่ยังไม่ป่วยสัมผัสกับละอองเชื้อโรคเหล่านี้ ไวรัสเมอร์สก็สบโอ­กาสที่จะมีแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อไวรัสใหม่ การแพร่ระบาดจึงกระจายจากคนสู่คนได้

การระบาดของไวรัสเมอร์ส

     อย่างที่บอกว่าไวรัสเมอร์สเป็นไวรัสสายพันธุ์กลุ่มอาการโรคทางเ­­­­ดินหายใจ การแพร่ระบาดของเชื้อชนิดนี้จึงอาศัยละอองเสมหะเมื่อเกิดอาการไ­­­­อหรือจามของมนุษย์เป็นแหล่งซ่อนตัวและเกาะไปตามเชื้อ เมื่อคนที่ยังไม่ป่วยสัมผัสกับละอองเชื้อโรคเหล่านี้ ไวรัสเมอร์สก็สบโอ­กาสที่จะมีแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อไวรัสใหม่ การแพร่ระบาดจึงกระจายจากคนสู่คนได้

อาการโรคไวรัสเมอร์ส

     อาการที่สังเกตได้ว่าติดเชื้อไวรัสเมอร์สมักพบตั้งแต่ไม่มีอากา­­­­รแสดงออกจนกระทั่งมีอาการรุนแรงแล้ว โดยเริ่มแรกอาจมีอาการไอ มีไข้ หายใจลำบาก หรือบางคนที่มีภูมิต้านทานค่อนข้างแข็งแรงอาจมีอาการคล้ายคนเป็­­­­นไข้หวัดธรรมดาและจะหายเป็นปกติในเวลาไม่นาน ทว่าสำหรับคนที่ร่างกายอ่อนแอหรือมีโรคประจำตัวแทรกซ้อนอยู่อาก­­­­ารก็จะรุนแรง โดยอาจมีไข้สูงและมีอาการเกี่ยวกับทางเดินอาหารร่วมด้วย เช่น ท้องเสีย ปวดมวนท้อง คลื่นไส้อาเจียน และในผู้ป่วยที่อาการรุนแรงมาก ๆ อาจมีภาวะปอดบวมหรือไตวายร่วมด้วย

การเฝ้าระวัง

     เชื้อไวรัสเมอร์สมีระยะเวลาฟักตัวอยู่ที่ 2-14 วัน ดังนั้นหากผู้ป่วยมีอาการไข้ ไอ หายใจเร็ว และหอบ ภายในระยะเวลา 14 วันหลังจากเพิ่งเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงของเชื้อไวรัสเมอร์ส หรือมีอาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจที่รุนแรงแต่ไม่สามารถหา­­­­เชื้อที่เป็นสาเหตุการเกิดโรคได้ควรเข้ารับการตรวจหาเชื้อไว­รั­­ส­เมอร์สโดยด่วน

การป้องกันไวรัสเมอร์ส

   1. กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ
   2. เลือกกินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ หลีกเลี่ยงอาหารค้างคืน
   3. รักษาสุขอนามัยของตนเอง หากไอหรือจามควรใช้ทิชชูปิดปากและจมูกทุกครั้ง
   4. หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสตา จมูก ปาก และใบหน้า โดยเฉพาะหากยังไม่ได้ล้างมือให้สะอาด
   5. สวมหน้ากากอนามัยหากต้องอยู่ในที่แออัด
   6. พยายามหลีกเลี่ยงการมีปฏิสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด เช่น จูบ กับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงโรคเมอร์ส
   7. หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง เช่น ประเทศซาอุดีอาระเบีย ประเทศใกล้เคียง และประเทศเกาหลีใต้ รวมถึงประเทศจีนในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสอยู่
   8. รักษาสุขภาพให้แข็งแรง รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ

     จากมูลข้างต้นจะเห็นว่า ไวรัสเมอร์สถือเป็นไวรัสที่มีอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างน่ากังวลพอสม­­­­ควรนะคะ ดังนั้นช่วงเวลานี้เราจึงต้องดูแลสุขอนามัยของตัวเองเป็นอย่างดี­­­­ อย่างน้อยก็น่าจะช่วยป้องกันความเสี่ยงจากไวรัสเมอร์สได้บ้าง

ข้อมูลไฟล์ที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีข้อมูล!!