ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน (ASEAN)

13 มกราคม 2557
 ประเภท : ข่าวประชาสัมพันธ์
ข้อมูลรูปที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีข้อมูล!!

อาเซียน

     อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(ASEAN : Association of South East Asia Nations) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และ สิงคโปร์ ต่อมาบรูไนดารุสซาลาม  เวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชา เข้ามาเป็นสมาชิกตามลำดับ ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ในปี พ.ศ. 2558 อาเซียนได้วางแนวทางในการ  ก้าวเข้าไปสู่ประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์ (ASEAN Community : AC) ภายใต้การทำงานใน 3 ประชาคม ได้แก่

     1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน  (ASEAN  Political Security Community : APSC)

     2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)

     3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน  (ASEAN Socio Cultural Community : ASCC)

ASEAN  กับ  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

     1. มุ่งพัฒนาโครงข่ายคมนาคมให้ระบบและสะดวกต่อการขนส่งรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการขยายฐาน การผลิต อาทิ  ไฟฟ้าและประปา

     2. เร่งปรับระบบการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะต้องดูแลทรัพยากรและจัดการอย่างเป็นระบบ โดยเน้น การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน      

     3. ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาทักษะความรู้ ด้านภาษาอังกฤษและภาษาของ

ประเทศเพื่อนบ้านตลอดจนเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเรื่องประเทศเพื่อนบ้าน

     4. มีบทบาทในการดูแลและช่วยเหลือกลุ่มผู้ผลิตในพื้นที่  โดยอาจจะต้องมีนโยบายในการส่งเสริมอาชีพ ทั้งอาชีพหลักและอาชีพเสริม เปิดรับวิสัยทัศน์ในกระบวนการผลิตแบบใหม่    เพื่อยกระดับกระบวนการผลิตให้เป็นมาตรฐานเท่าเทียมกับระดับสากล

     5.  เตรียมรับผลกระทบจากปัญหาสังคมและสาธารณสุขที่อาจเกิดจากการเคลื่อนย้ายแรงงาน และนักท่องเที่ยวโดยเสรี อาทิ  โรคระบาด ความขัดแย้งทางสังคมและเชื้อชาติและอาชญากรรมข้ามชาติ

     6. พัฒนาและนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงานตลอดจนส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้ความสามารถในการพัฒนา จัดการและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความทันสมัยทันต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน

การเตรียมความพร้อมของประชาชน

     1. ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นและทำความเข้าใจถึงที่มาและวัตถุประสงค์ของอาเซียนและประชาคมอาเซียน

     2. ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนเนื่องจากประเทศในอาเซียนในความแตกต่างหลากหลายและเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีต่อกัน

     3. เพิ่มพูนทักษะการใช้ภาษา เนื่องจากภาษาอังกฤษถูกกำหนดให้เป็นภาษาราชการของอาเซียนตลอดจนภาษาของประเทศในอาเซียน

     4. รับรู้และเตรียมพร้อมรับกระแสการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกประเทศ

     5. ผู้ประกอบการและแรงงานต้องพัฒนาศักยภาพของตนเองให้เด่นชัด

กฎบัตรอาเซียน

     กฎบัตรอาเซียน เปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่มีขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการ ดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015)  โดยวัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียน คือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลางและเคารพกฎกติกาในการทำงานมากขึ้น

ข้อมูลไฟล์ที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีข้อมูล!!